วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วางแผนซื้อหุ้น RMF...กันมั๊ย

ในภาวะปัจจุบันหากใครต้องการลงทุนใน RMF ล่ะก็ ช่วงนี้เหมาะครับ เพราะตลาดหุ้นของเราอยู่ในสภาวะขาลง มีกองทุนที่น่าสนใจให้เราเลือกมากมาย โดยส่วนตัวแล้วตอนนี้ผมคิดจะลงทุนใน RMF ไว้เพื่อลดหย่อนภาษี และคิดว่าราคาหุ้นกองทุนนั้น ถูกกว่าเมื่อเดือน สองเดือนก่อน ก็เลยหันมาศึกษา ทำความเข้าใจกับตัวกองทุนก่อนที่จะลงทุน เพราะว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ตามที่ใครๆชอบพูดกัน

.... ลองดูกันเพื่อว่าข้อมูลที่ผมกำลังศึกษา จะมีประโยชน์กับคุณๆ ท่านๆ บ้าง .......



RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง (กองทุนรวม หมายถึงการนำเงินของผู้ลงทุนหลาย ๆ คนมารวมกัน แล้วมีมืออาชีพ ซึ่งก็คือบริษัทจัดการ คอยบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้) ซึ่งมีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป คือ RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ

RMF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าว แต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นอีก

นโยบายการลงทุนของ RMF
มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant)

ข้อแตกต่างของ RMF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3. ไม่มีการจ่ายเงินปันผล

เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้
1. ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
2. ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า)
3. ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)
4. การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

หาความรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ www.aimc.or.th หรือ www.thaimutualfund.com

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม

The Krungthepturakij web site : bangkokbiznews - finance

Norsorpor.com - ข่าวเด่นวันนี้